ทฤษฏีความรู้

 ความหมายทฤษฎีความรู้ หรือ TOK

  เป็นสาระที่ว่าด้วยการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ผู้เรียนรู้ว่าด้วยการค้นคว้าและแสวงหาความรู้ เพื่อพิสูจน์ประเด็นความรู้ ข้อค้นพบหรือสมมติฐานของความรู้ที่ผู้เรียนได้รับรู้และเป็นที่ยอมรับ ว่าด้วยการส่งเสริมให้ผู้เรียน รู้จักตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของความรู้ ในลักษณะที่เป็นวัฒนธรรมของการรับรู้ และการรับรู้ที่ใช้ความรู้สึก และว่าด้วยการปลูกฝังการสร้างความเข้าใจที่เป็นสากลให้แก่ผู้เรียน 

ตัวอย่างประเด็นความรู้/หัวข้อ/ปัญหาของสาระ

  1. อภิปรายคำกล่าว “คณิตศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่เกิดจากการค้นพบ (Discovered) หรือ การประดิษฐ์คิดค้น (Invented)
  2. อภิปรายคำกล่าว “คณิตศาสตร์” เป็นพื้นฐานการเรียนรู้วิชาอื่น และสามารถนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ศิลปะได้หรือไม่อย่างไร
  3. อภิปรายและแสดงความคิดเห็นกับคำกล่าวที่ว่า “คณิตศาสตร์เป็นพระราชินีแต่วิทยาศาสตร์เป็นพระราชา”
  4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ “ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ สามารถเรียนรู้ได้จากการคบหาสมาคมกับ ผู้ที่ชื่นชอบวิชาคณิตศาสตร์ผ่านการเรียนรู้จากการฝึกทำ กระบวนการสร้างสรรค์งาน การสังเกตพฤติกรรมและวิถีชีวิต รวมถึงผลงานของนักคณิตศาสต
    5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรกับคำกล่าวที่ว่า ” ผู้ที่เรียนคณิตศาสตร์ได้ดีย่อมสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีด้วย”

 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เรียน

   1.เข้าชั้นเรียนสาระ TOK กับครูผู้สอน
  2  เลือกประเด็นความรู้/หัวข้อ/ปัญหาสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม
  3. ศึกษาเกณฑ์การให้คะแนน
 4. พบครูที่ปรึกษา
 5. วางแผนการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมและจัดทำแผนการเขียนงาน TOK ของตนเอง หรือที่เรียกว่า “แผนการบริหารจัดการตนเอง
6.ส่งแผนการปฏิบัติกิจกรรมของตนเองให้แก่ แก่ครูผู้สอนและครูที่ปรึกษา
7. ศึกษา ค้นคว้า เขียนงานตามเวลาที่กำหนดตามแผน ในกรณีที่มีปัญหาผู้เรียนจะต้องพบครูที่ปรึกษาและครูผู้สอนตามกำหนดเวลาของผู้เรียน
8.เรียบเรียงความคิดเป็นเอกสารรายงานผลการค้นคว้าความยาว 1,200 – 1,600 คำ ส่งครูผู้สอนโดยผ่านความเห็นชอบของครูที่ปรึกษา

ตัวอย่างแผนการทำงานของผู้เรียน

วัน/เดือน/ปี

กิจกรรม

หมายเหตุ

(1 ภาคเรียน)พฤษภาคมสัปดาห์ที่ 1สัปดาห์ที่ 2สัปดาห์ที่ 3สัปดาห์ที่ 4  – ศึกษาเกณฑ์การวัดและประเมินผล TOK- เลือกหัวข้อเรื่องและลงทะเบียน- ศึกษาหัวข้อเรื่อง- พบครูที่ปรึกษาเพื่อหารือเกี่ยวกับการค้นคว้า  (ระบุวัน เวลาการนัดหมาย)
มิถุนายนสัปดาห์ที่ 5สัปดาห์ที่ 6สัปดาห์ที่ 7สัปดาห์ที่ 8  – พบครูบรรณารักษ์ขอคำแนะนำเกี่ยวกับการค้นคว้า- พบครูผู้สอนเสนอโครงร่าง- พบครูที่ปรึกษาเสนอโครงร่าง- ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งค้นคว้า (ระบุวัน เวลา
การนัดหมาย)
วัน/เดือน/ปี

กิจกรรม

หมายเหตุ
กรกฎาคมสัปดาห์ที่ 9สัปดาห์ที่ 10สัปดาห์ที่ 11สัปดาห์ที่ 12  – พบครูที่ปรึกษารายงานความก้าวหน้า- ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม- จัดทำรายการเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม- พบครูที่ปรึกษาเพื่อรายงานความก้าวหน้า (ระบุวัน เวลา
การนัดหมาย)
สิงหาคมสัปดาห์ที่ 13สัปดาห์ที่ 14สัปดาห์ที่ 15สัปดาห์ที่ 16  – ลงมือเขียนรายงานการค้นคว้า- เขียนรายงานการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม- ส่งผลงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง) ต่อครูผู้สอน- ส่งผลงานการค้นคว้าครูที่ปรึกษา (ระบุวัน เวลา
การนัดหมาย)
กันยายนสัปดาห์ที่ 17สัปดาห์ที่ 18สัปดาห์ที่ 19 สัปดาห์ที่ 20  – ปรับแก้ไขผลงาน- จัดทำฉบับจริง- ส่งผลงานฉบับจริงและนัดสอบปากเล่า (Oral)- สอบปากเปล่า (ระบุวัน เวลา
การนัดหมาย)

  การประเมินเนื้อหาที่เป็นรายละเอียดจะจำแนกเกณฑ์ออกเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1      การประเมินงานเขียน (Essay)

การวัดและประเมินผลพิจารณาเกี่ยวกับความเชื่อมโยง (Depth of understanding) ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นความรู้อย่างกว้างขวาง
(Breadth of understanding) แสดงความตระหนักรู้วิธีการเชื่อมโยงประเด็นความรู้กับสาขาความรู้และวิธีรับรู้

 ก.      ความเข้าใจในการประเมินผลประเด็นความรู้/หัวข้อ/ปัญหา (Understanding knowledge issues)

ระดับสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด
0 ผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ระดับ 1
1 – 2 ผลงานพูดถึงประเด็นปัญหาน้อยมาก มีการแสดงความเข้าใจประเด็นปัญหาน้อย เพียงแต่กล่าวถึงสาขาวิชาเท่านั้น
3 – 4 ผลงานพูดถึงประเด็นปัญหาบ้าง มีการแสดงความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับประเด็นปัญหา มีการเชื่อมโยงอย่างกว้าง ๆ กับสาขาวิชาและวิธีการรับรู้
5 – 6 ผลงานส่วนใหญ่พูดถึงประเด็นปัญหา มีการแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหลายประการ มีการเชื่อมโยงอย่างจริงจัง ระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ กับวิธีการรับรู้
7 – 8 ผลงานพูดถึงประเด็นความรู้ได้อย่างลึกซึ้ง มีการเชื่อมโยงและมีการเปรียบเทียบระหว่างสาขาวิชาและวิธีการรับรู้อย่างแท้จริง ผลงานสะท้อนความเข้าใจประเด็นความรู้เป็นอย่างดี
9 – 10 ผลงานพูดถึงประเด็นความรู้ได้อย่างลึกซึ้ง มีการเชื่อมโยงและมีการเปรียบเทียบระหว่างสาขาวิชาและวิธีการรับรู้ได้อย่างสละสลวย ผลงานสะท้อนความเข้าใจประเด็นความรู้อย่างลึกซึ้ง

ข.     ความคิดเห็นของผู้เรียน (Knower Perspective)

ระดับสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด
0 ผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ระดับ 1
1 – 2 ผลงานไม่มีหลักฐานความคิดที่เป็นอิสระเกี่ยวกับประเด็นความรู้ มีความคิดเห็นส่วนตัวจำกัดมาก ไม่สะท้อนความพยายามของการค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ไม่มีตัวอย่างที่เหมาะสม
3 – 4 ผลงานมีความคิดที่เป็นอิสระเล็กน้อย มีความคิดเห็นส่วนตัวบ้าง มีการพูดถึงความคิดเห็นต่าง ๆ แต่ไม่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม มีตัวอย่างที่เหมาะสมอยู่บ้างเป็นบางครั้ง
5 – 6 ผลงานมีความคิดที่เป็นอิสระบ้าง ผู้เรียนเรียบเรียงผลงานในลักษณะแสดงความคิดเห็นของตนเองไปพร้อม ๆ กับพูดถึงประเด็นความรู้ มีการแสดงความตระหนักผ่านการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ มีคามพยายามที่จะแสดงความคิดเห็นในมุมมองต่าง ๆ คัดเลือกตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าจะมาจากแหล่งความรู้ที่มีความหลากหลายน้อย
7 – 8 ผลงานมีหลักฐานแสดงความคิดเป็นอิสระเพียงพอ ผู้เรียนเรียบเรียงผลงานที่แสดงให้เห็นการคิดอย่างถี่ถ้วน มีความคิดเห็นที่เป็นของตนเอง มีความตระหนักรู้ในฐานะผู้รู้ มีการยอมรับความคิดเห็นต่าง ๆ สะท้อนความพยายามที่จะค้นคว้าความรู้ มีตัวอย่างที่เป็นจริงและหลากหลาย
9 – 10 ผลงานมีหลักฐานแสดงความคิดที่เป็นอิสระมาก ผลงานมีความคิดอิสระ การค้นคว้าอย่างมีวิจารณญาณ มีความตระหนักในประเด็นความรู้ มีความตระหนักในตนเอง มีการพิจารณาความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างจริงจัง ตัวอย่างที่เลือกมามีหลากหลายและมีการใช้อย่างจริงจัง

ค. คุณภาพของการวิเคราะห์ประเด็นความรู้ (Quality of analysis of knowledge)

ง.      การเรียบเรียงความคิด (Organization of ideas)

ระดับสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด
0 ผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ระดับ 1
1 – 2 ไม่มีการวิเคราะห์ประเด็นความรู้ มีเพียงคำบรรยายไม่สะท้อนความพยายามที่จะแสดงเหตุผลเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่ยืนยัน ความตระหนักรู้ในประเด็นความรู้
3 – 4 มีการวิเคราะห์บางประเด็นความรู้ แต่บรรยายอย่างกว้าง ๆ สะท้อนความพยายามที่จะแสดงเหตุผลในประเด็นสำคัญ มีข้อโต้แย้งที่เกี่ยวข้อง ไม่แสดงประเด็นขัดแย้งอย่างชัดเจน
5 – 6 มีการวิเคราะห์ประเด็นความรู้ ประเด็นส่วนใหญ่มีการให้เหตุผลและข้อโต้แย้งมีความต่อเนื่อง
7 – 8 มีการวิเคราะห์ประเด็นความรู้อย่างลึกซึ้ง มีรายละเอียดของประเด็นความรู้ทั้งหมดทุกประเด็น หรือเกือบจะทั้งหมด มีการให้เหตุผลและข้อโต้แย้งอย่างสอดคล้องและมีความต่อเนื่อง
9 – 10 มีการวิเคราะห์ประเด็นความรู้อย่างลึกซึ้งมาก มีรายละเอียดของประเด็นความรู้ทั้งหมดทุกประเด็น มีการให้เหตุผลและข้อโต้แย้งอย่างสอดคล้อง มีความต่อเนื่องตามข้อบังคับนัยต่าง ๆ ทุกประเด็น ได้มีการค้นคว้าให้เหตุผลทุกประเด็น

ระดับสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด
0 ผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ระดับ 1
1 – 2 การเขียนเรียบเรียงผลงาน การลำดับเป็นไปตามรูปแบบใดบ้าง ถ้าน้อยมาก เข้าใจความตั้งใจของผู้เรียนได้ยากมาก ข้อมูลนี้เป็นข้อเท็จจริง มีข้อผิดพลาดที่ชัดเจน ไม่มีการค้นคว้า ไม่อ้างอิงแหล่งค้นคว้า
3 – 4 การเขียนเรียบเรียงผลงาน การลำดับเนื้อหาเป็นไปตามรูปแบบโครงสร้างน้อย บางครั้งเข้าใจความตั้งใจของผู้เขียนได้ยากมาก มีความพยายามที่จะอธิบายความหมายของข้อความต่าง ๆ แต่อธิบายได้ไม่ชัดเจน ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงไม่น่าเชื่อถือ (มีข้อผิดพลาดบ้างเล็กน้อย เช่น การอ้างอิงแหล่งข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ) มีการอ้างอิงแหล่งค้นคว้าและความคิดเห็น การสืบค้นและการอ้างอิงไม่สมบูรณ์
5 – 6 การเขียนเรียบเรียงผลงาน การลำดับเนื้อหาอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ การยึดรูปแบบโครงสร้าง มีการอธิบายประเด็นปัญหาอย่างเหมาะสม ข้อมูลที่ใช้ในการยืนยัน สนับสนุนส่วนใหญ่มีความคิดถูกต้อง มีการอ้างอิงแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงความคิดที่สามารถสืบทราบแหล่งที่มา แม้บางครั้งจะขาดความชัดเจนบ้าง การใช้คำอยู่ในจำนวนที่กำหนดในการเรียบเรียง
7 – 8 การเขียนเรียบเรียงผลงาน การลำดับเนื้อหาตามรูปแบบโครงสร้างได้ดี มีการอธิบายประเด็นปัญหาสำคัญอย่างชัดเจน มีการให้คำอธิบายขยายความประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ข้อมูลที่ใช้ในการยืนยันสนับสนุนความคิดมีความถูกต้อง  มีการอ้างอิงแหล่งค้นคว้าและอ้างอิงความคิด ซึ่งการอ้างอิงส่วนใหญ่สามารถสืบทราบแหล่งที่มาได้ มีการใช้คำในการเรียนอยู่ในจำนวนที่กำหนด
9 – 10 การเขียนเรียบเรียงผลงาน การลำดับเนื้อหาเป็นไปตามรูปแบบโครงสร้างดีมาก มีการอธิบายประเด็นความรู้/ปัญหาอย่างชัดเจนและเหมาะสม พร้อมให้คำอธิบายประกอบอย่างละเอียด ข้อมูลที่ใช้ในการยืนยันสนับสนุนความคิดมีความถูกต้อง บอกแหล่งค้นคว้าอ้างอิงที่สามารถสืบทราบแหล่งที่มาได้ การใช้คำในการเรียบเรียงอยู่ในจำนวนที่กำหนด

ตอนที่ 2      การประเมินงานนำเสนอ (Oral)

ก.      ลักษณะของประเด็นความรู้ (Identification of knowledge issues)

ระดับสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด
0 การนำเสนอไม่ผ่านเกณฑ์ระดับ 1
1 – 2 การนำเสนอพูดถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ค้นคว้า
3 – 4 การนำเสนอพูดถึงความรู้บางประการที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ค้นคว้า
5 การนำเสนอพูดถึงความรู้บางประการที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ค้นคว้าอย่างชัดเจนและกระจ่าง

ข.     การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความรู้ (Treatment of knowledge issues)

ระดับสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด
0 ไม่ผ่านเกณฑ์ระดับ 1
1 – 2 การนำเสนอแสดงให้เห็นความเข้าใจในประเด็นความรู้บางส่วน
3 – 4 การนำเสนอแสดงให้เห็นความเข้าใจในประเด็นความรู้พอสมควร
5 การนำเสนอแสดงให้เห็นความเข้าใจในประเด็นความรู้เป็นอย่างดี

 ค.     ความคิดเห็นของผู้เขียน (Answer’s perspective)

ระดับสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัด
0 ผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ระดับ 1
1 – 2 การนำเสนอมีการให้ข้อโต้แย้งและตัวอย่างที่แสดงความคิดเห็นที่เป็นของตนอยู่ในขีดจำกัด ไม่ให้ความสำคัญกับหัวข้อเรื่อง
3 – 4 การนำเสนอมีการให้ข้อโต้แย้งและตัวอย่างที่แสดงความคิดเห็นของตนบางประการ มีข้อมูลข้อขีดเห็นสนับสนุนให้ความสำคัญกับหัวข้อเรื่องพอสมควร
5 การนำเสนอมีการให้ข้อโต้แย้งและตัวอย่างที่แสดงความคิดเห็นของตนอย่างเด่นชัด มีข้อมูลข้อคิดเห็นที่เป็นความคิดของตนเอง ให้ความสำคัญกับหัวข้อเรื่องอย่างสมบูรณ์

นักเรียนทุกคนต้องลงทะเบียนตามแบบฟอร์มด้านล่าง


 

สำหรับนักเรียนที่ต้องการแบบบันทึกในรายวิชานี้ให้นักเรียนดาวน์โหลดตามไฟล์นี้

http://www.scribd.com/doc/35647151/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2-%E0%B8%84-32104-1

ใส่ความเห็น